วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความหายของดินถล่มหรือโคลนถล่ม


ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ ดิน ถล่ม (Landslide or Mass movement)  คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกโดยปรกติดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ น้ํา จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ําจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ําจะเป็นตัวที่ทําให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหล ได้ ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์  ที่เกิดได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาที่มีความลาดชันสูง อย่างไรก็ตามในบริเวณที่มีความลาดชันตํ่าก็สามารถเกิดดินถล่มได้ถ้ามีปัจจัยที่ก่อให้เกิด ดินถล่ม โดยทั่วไปบริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม คือบริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังและมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็น ภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ํากัดเซาเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา  บริเวณที่มีการผุพังของหินและทําให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันตํ่าและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหิบนลาดเขา หนา ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ําซึมลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ําเพิ่ม ขึ้นในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก (วรวุฒิ, 2548) 
การจําแนกชนิดของดินถล่ม  เกณฑ์ในการจําแนกชนิดของดินถล่ม และการพังทลายของลาดเขา มีหลายอย่าง เช่น ความเร็วและกลไกในการเคลื่อนที่ ชนิดของตะกอน รูปร่างของรอยดินถล่ม และปริมาณของน้ําที่
เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการดินถล่ม การจําแนกชนิดของดินถล่มที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่การจําแนกโดย Varnes, 1975  ซึ่งอาศัยหลักการจําแนก ชนิดของของวัสดุที่พังทลายลงมา ( Type of material ) และลักษณะการเคลื่อนที่ ( Type of movement )  ประเภทของดินถล่มจําแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุที่พังทลายลงมา ได้แก่         การร่วงหล่น (Falls) เป็นการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วลงมาตามลาดเขาหรือหน้าผาสูงชัน โดยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก อาจเกิดการตกอย่างอิสระ หรือมีการกลิ้งลงมาตามลาดเขาร่วมด้วย โดยมีน้ําเข้ามาเกี่ยวข้องน้อย หรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นตะกอนดินหรือหินที่พังทลายลงมาจะกองสะสมกันอยู่บริเวณเชิงเขาหรือ หน้าผานั้นเอง ถ้าเป็นหน้าผาหินและตะกอนที่ตกลงมาส่วนมากเป็นหิน

เรียกว่า “Rock fall” ส่วนถ้าเป็นหน้าผาดินและตะกอนที่ตกลงมาเป็นดินเม็ดหยาบ เรียกว่า “Debris fall”  และถ้าตะกอนที่ตกลงมาเป็นดินเม็ดละเอียด เรียกว่า “Earth fall”  คณะทํางานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัยจังหวัดแพร่
  

การล่วงหล่นของดินถล่ม
1. การล้มควํ่า (Topples) เป็นการเคลื่อนที่โดยมีการหมุน หรือล้มควํ่าลงมาตาม ลาดเขา มักพบว่าเกิดเชิงหน้าผาดินหรือหินที่มีรอยแตกรอยแยกมาก โดยกระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ํา ข้ามาเกี่ยวข้องน้อย หรือไม่มีน้ําเข้ามาเกี่ยวข้อง
การล้มคว่ำของดินถล่มที่มา http://www.siamvolunteer.com
       
                    2.การลื่นไถล (Slides) การเกิดดินถล่มชนิดนี้มีน้ําเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ สามารถจําแนกตาม
ลักษณะของระนาบการเคลื่อนที่ ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ  - Rotational slide เป็นการลื่นไถล ของวัตถุลงมาตามระนาบของการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมคล้ายช้อน (Spoon-shaped )  ทําให้มีการหมุนตัวของวัตถุขณะเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่จะเป็นไปอย่างช้าๆ(รูปที่ 5  และ 6 )  ซึ่งลักษณะดังกล่าวมักเกิดขึ้นในบริเวณท่ีดินมีความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous material )  เช่น บริเวณที่ชั้นดินหนามาก หรือ ดินที่นํามาถมเป็นต้นTranslational slide  เป็นการลื่นไถลลงมาตามระนาบการเคลื่อนที่มีลักษณะค่อนข้างตรงส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนที่ตามระนาบของโครงสร้างทางธรณีิวทยา เช่น ตามระนาบรอยแตก (joint) ระนาบทิศทางการวางตัวของชั้นหิน (bed) รอยต่อระหว่างชั้นดินและหิน3.การแผ่ออกทางด้านข้าง (Lateral spread) ส่วนใหญ่จะเกิดบนพื้นราบ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย โดยชั้นดินจะประกอบด้วยตะกอนขนาดละเอียดมาก การเกิดส่วนมากเกี่ยวข้องกับกระบวนการ liquefaction  เมื่อชั้นตะกอนละเอียดที่อิ่มตัวด้วยน้ํามีพฤติกรรมเหมือนของไหลเนื่องจาก อิทธิพลของแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว หรือจากการที่มีหินหรือดินที่แข็งและไม่อุ้มน้ําวางตัวทับอยู่บนชั้นดินที่ อุ้มน้ํา เมื่อชั้นดินที่ ้ อุมน้ําถูกทับด้วยน้ําหนักที่มากก็จะไหลออกด้านข้างทําให้ชั้นดิน ชั้นหินที่อยู่ด้านบนแตกออกและยุบตัว

การแผ่ออก2ด้านของดินถล่ม

4.การไหล (Flows) กระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ําเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด น้ําทําให้ ตะกอนมี
ลักษณะเป็นของไหลและเคลื่อนที่ไปบนพื้นระนาบลาดเขา ลงไปกองทับถมกันที่ช่วงล่างของ ลาดเขาหรือเชิงเขา ตะกอนอาจเคลื่อนที่ไปได้เป็นระยะทางไกล และความเร็วในการเคลื่อนที่อาจสูงมาก ถ้าลาดเขามีความชันสูง ดินถล่มชนิดนี้ยังแบ่งตามชนิดของตะกอนได้เป็น 5 ชนิด คือ  • Debris flow ตะกอนที่ไหลลงมาจะมีหลายขนาดปะปนกันทั้งตะกอนดิน หินและซากต้นไม้ และมักเกิดขึ้น ตามทางน้ําเดิมที่มีอยู่แล้วหรือบนร่องเล็ก ๆ บนลาดเขา โดยมีน้ําซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น
น้ําฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วงฤดูฝนของแต่ละพื้นที่เป็นตัวกลางพัดพาเอาตะกอนดินและหิน รวมถึง
ซากต้นไม้ ต้นหญ้าไหลมารวมกัน ก่อนที่จะไหลลงมากองทับถมกันบริเวณที่ราบเชิงเขาในลักษณะของ
              เนินตะกอนรูปพัด หน้าหุบเขา
                                                              การไหลของดินถล่ม
• Debris avalanche เป็นการเคลื่อนที่ลงมาตามลาดเขาของมวลดินที่ประกอบด้วยตะกอนหลายขนาดปนกันและมีขนาดร่องรอยของดินถล่มที่ใหญ่ บางแห่งขนาดความกว้างมากกว่า 3 กิโลเมตร (L.M.  Highland and P. Bobrowsky, 2008)


ความสำคัญของดินโคลนถล่ม
          ปัญหาดินถล่ม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก ที่น้ำจากภูเขาไหลบ่าพัดเอาดินเอาโคลนมากองรวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งซึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำหนักไม่ไหว เกิดการถล่มลงมาของกองดินหรือโคลน ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็จะเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งเกิดจากการตัดต้นไม้บนพื้นที่ภูเขาและไหล่เขา เมื่อเกิดฝนตกหนักไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะยึดดินไว้ทำให้เกิดดินถล่ม

บริเวณดินถล่ม
1. ดินถล่มถึงแม้จะเป็นป่า เกิดจากไม่มีไม้รุ่นเล็ก รุ่นหนุ่ม ขึ้นทดแทนรุ่นพ่อแม่ที่ตายไปหรือ ยังมีชีวิตอยู่แต่รากแก้วผุพังไปตามอายุไข เหมือนคนแก่ที่ปวดแข้งปวดขา ดินที่ไม่มีรากไม้ที่แข็งแรงจึงถล่มลงมา

2. บริเวณที่เป็นภูเขาหัวโล้น อันนี้ทุกคนคงทราบดี

วิธีแก้ จะต้องรวมผู้รู้ทุกสาขา โดยตั้งเป็นเฉพาะกิจ และเป็นอาสา ไม่ใช้ตั้งแบบระบบราชการ กินเบี้ยประชุมไปวันๆ

ในแต่ละจังหวัด จะมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญแทบทุกจังหวัด ให้เข้าไปเชิญท่านเหล่านั้นมาเป็นมันสมองให้ โดยใช้งบจังหวัด อำเภอ อบต. แล้วแต่กรณี แทนเงินงบแผ่นดินจากกระทรวง เพราะมักไม่ทันการ และให้ตั้งเป็นวาระ แห่ง อบต. อบจ. แห่งชาติ แทนโครงการประจำปี

ถ้าที่ดินที่คาดว่าจะถล่มเป็นของผม ผมจะนำต้นกระถินไปหว่าน ให้ยึดหน้าดินเอาใว้ จนมั่นใจว่าดินไม่ถล่มแล้ว สัก 2-3 ปี จากนั้นผมก็จะ นำไม้โตไว ที่แผ่กิ่งก้านได้กว้างและทึบ มาปลูกแทรกป่ากระถิน กระถินที่หว่านถี่ๆจะไม่โต ก็ให้คนงานขุดออกเป็นบริเวณกว้างสัก 1 เมตร แล้วเอาไม้โตเร็วอย่างที่ผมว่า เข้าแทรกตามหลุมที่ขุดใว้ ไม้ที่จะเอามาปลูกก็เลือกเอาไม้ไทยตามระบบนิเวศเดิม เช่น สมอพิเพก กระทิง สัก เป็นต้น ไม่นานกระถินที่ชอบแดดจัดก็จะทยอยตาย เราก็ค่อยๆแทรกไม้ลงไปให้เต็ม ใช้เวลา 10 ปี ผมว่าได้ผล

ตอนนี้รัฐยังอุ้มคนส่วนใหญ่ โดนปล่อยให้คนส่วนน้อยให้เดือดร้อนต่อไป ในกรณีแบบนี้ จะต้องอุ้มทุกคนไม่ใช่ เพราะทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน ต้องกิน ต้องอยู่ด้วยกัน จึงต้องแก้ปัญหาให้ทุกคน รู้สึกจะมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกว่า หากกทม. รอด ลพบุรี ท่วมนิดหน่อยก็ถือว่าประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญน้ำท่วม ท่านคิดผิด การแก้ปัญหาให้คนจะต้อง 100 % ไม่ใช้ช่วยคนใดคนหนึ่งมูลค่าความเสียหายการประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการศึกษานี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1) ปัญหาการชะล้างพังทลายที่ทำ


ให้สูญเสียธาตุอาหารของพืช 2) ปัญหาดินเค็ม โดยคิด มูลค่าการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินเป็นรายปี และ 3) ปัญหาดินถล่ม โดยคิดจาก มูลค่าความเสียหายจากดินถล่ม
สาเหตุของการเกิดปัญหาดินโคลนถล่ม
        สาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม แบ่งเป็น 2ประเภทหลัก ได้แก่
1.             สาเหตุตามธรรมชาติ
2.             สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
สาเหตุตามธรรมชาติ

      1.ความแข็งแรงของดิน

2.โครงสร้างของแผ่นดิน ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
3.ความลาดเอียงของพื้นที่
4.ปริมาณน้ำฝน มีฝนตกมากเป็นเวลานานๆ (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
5.ฤดูกาล
6.ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง
7.แผ่นดินไหว
8.คลื่นสึนามิ
9.ภูเขาไฟระเบิด
  10.การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน
  11.การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน
 12.การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

1.การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อการเกษตร การสร้างถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน การทำเหมือง เป็นต้น


 3.การขุดดินลึกๆ เพื่อการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
4.การบดอัดที่ดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
5.การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน
6.การถมดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เพิ่มน้ำหนักบนภูเขา หรือสันเขา
7.การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก
8.การทำอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขา และทำให้น้ำซึมลงใต้ดินมากจนเกินสมดุล
9.การเปลี่ยนแปลงทางน้ำธรรมชาติ ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล
10.น้ำทิ้งจากอาคาร บ้านเรือน สวนสาธรณะ11.การกระเทือนต่างๆ เช่น การระเบิดหิน
การป้องกันการเกอดปัญหาดินโคลนถล่ม
การเตรียมพร้อมและการป้องกัน
ก่อนเกิดเหตุ ก่อนเกิดเหตุให้สังเกตว่า
1.มีฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
2.ระดับน้ำในห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
3.น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่น แสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
4.เวลาฝนตกนานๆ มีเสียงดัง อื้ออึง ผิดปกติดังมาจากภูเขาและลำห้วย
ระหว่างเกิดเหตุ
1.ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ควรอพยพ หรือให้หนีไปอยู่ที่สูงๆ และรีบแจ้งเรื่องให้ทราบทั่วกันโดยเร็ว
2.ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะอาจจะโดนซากต้นไม้ หรือก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนตายได้ และหาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้
หลังเกิดเหตุ 


1.อย่าปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป

2.อย่าตัดไม้ทำลายป่า และช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับน้ำ
3.จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบๆ หมู่บ้าน เพื่อสังเกตสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
4.ติดตามสถานการณ์และข่าวการพยากรณ์อากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน อย่างใกล้ชิด
5.สำรองอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และ อุปกรณ์ฉุกเฉิน

















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น